เมนู

พระขีณาสพ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล ท่านไม่กลัวภัยแม้สักอย่างหนึ่ง
ในภัยทั้ง 4 เหล่านั้น. จริงอยู่ พระขีณาสพ ท่านตัดภัยได้ขาดแล้ว เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อภยูปรโต" ผู้งดเว้นความชั่วมิใช่
เพราะความกลัวภัย.

ถามว่า ท่านก็ย่อมไม่กลัวแม้แต่ อุปวาทภัย ภัยคือการติเตียนหรือ ?
ตอบว่า ไม่กลัว แต่ไม่ควรกล่าวว่า ท่านรักษาอุปวาทภัย ข้อนี้
บัณฑิตพึงเห็นเหมือนพระขีณาสพเถระในบ้านโทณุปปลวาปี เป็นตัวอย่าง.
จบอรรถกถาภยูปรตบุคคล และ อภยูปรตบุคคล

[28]

อภัพพาคมนบุคคล

บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรค
ผลเป็นไฉน ?

บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบ
ด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่
ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า
อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล.
[29]

ภัพพาคมนบุคคล

บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล
เป็นไฉน ?

บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่
ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา เป็น
ผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า
ภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล.

อรรถกถาอภัพพคมนบุคคล และ ภัพพาคมนบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง อภัพพาคมนบุคคล. ผู้ใดไม่ควรเพื่อจะ
บรรลุสัมมัตตนิยาม เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า อภัพพาคมนบุคคล. บทว่า
"กมฺมาวรเณน" แปลว่า ด้วยกรรมอันเป็นเครื่องกั้น ได้แก่ อนันตริยกรรม
5 อย่าง. บทว่า "กิเลสาวรเณน" แปลว่า ด้วยกิเลสเป็นเครื่องกั้น ได้แก่
นิยตมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า "วิปากาวรเณน" แปลว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่องกั้น
ได้แก่ปฏิสนธิด้วยอเหตุกะและทวิเหตุกจิต. บทว่า "อสทฺธา" แปลว่า ผู้ไม่มี
ศรัทธา ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. บทว่า
"อจฺฉนฺทิกา" แปลว่า ผู้ไม่มีฉันทะ ได้แก่ ผู้เว้นจากความพอใจ ในกัตตุ-
กัมยตากุศล. เว้นชาวชมพูทวีปเสียแล้ว บุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่าผู้อยู่ใน
ทวีปทั้ง 3 นอกจากนี้ ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น มนุษย์ทั้งหลายชื่อว่า เข้าถึง
ความเป็นผู้ไม่มีฉันทะ. บทว่า "ทุปฺปญฺญา" แปลว่า มีปัญญาทราม ได้แก่
เว้นจากภวังคปัญญา. บทว่า "อภพฺพา" แปลว่า ผู้ไม่ควร ได้แก่ ไม่ได้
อุปนิสัยแห่งมรรคและผล. บทว่า "นิยามํ" ได้แก่ มรรคนิยาม. บทว่า
"โอกฺกมิตุํ" ความว่า ไม่ควรเพื่อจะก้าวล่วง คือก้าวลงไปสู่นิยาม กล่าวคือ
สัมมัตตะในธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเพื่อจะตั้งมั่นในมรรคผลนั้นได้.
นิเทศแห่ง ภัพพาคมนบุคคล บัณฑิตพึงทราบโดยปฏิปักษ์นัยจากคำ
ที่กล่าวแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในทุกะนี้ อย่างนี้ว่า
บุคคลใด กระทำปัญจานันตริยกรรม 1 เป็นผู้นิยตมิจฉาทิฏฐิ 1
ผู้ถือปฏิสนธิมาด้วยอเหตุกะและทวิเหตุกจิต 1 ผู้ไม่เชื่อพระรัตนตรัยมีพระพุทธ-
เจ้าเป็นต้น 1 ความพอใจเพื่อจะทำกุศลของผู้ใดไม่มี 1 ผู้มีภวังคปัญญาไม่